top of page

จาริกบุญผ้าอาบ/เทียนพรรษา 2559


จาริกบุญถวายผ้าอาบน้ำฝน เทียนพรรษา ทำวัตร พ่อแม่ครูอาจารย์ อิสานใต้ 16 วัด ระหว่าง 16-19 กค.59 เราได้กราบถวายปัจจัยไทยธรรม 258,000บาท ค่าใช้จ่ายการเดินทาง ประมาณ60,000บาท คณะเดินทางทั้งสิ้น22คน+ รถติดตามไปร่วมตามวัดบางวัดด้วย รถตู้หลักสามคันโดยคณะพี่ปู มีสมาชิกใหม่หลายท่าน มีผู้ร่วมบุญมาด้วยรวมค่ารถแล้ว 258030 บาท อนุโมทนาบุญด้วยนะครับ

คำถามธรรมะ ที่สนทนาระหว่างเดินทางหลักคือ 1- พระพุทธเจ้าทรางประทานคำสอนอะไรไว้ให้เรา 2-หลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตของชาวพุทธเป็นเช่นไร 3- การแตกต่างของการปฏิบัติ กับ ความคิดว่าได้ปฏิบัติเป็นเช่นไร 4-องค์ประกอบของข้อปฏิบัติพื้นฐานของชาวพุทธเป็นเช่นไร 5-กิริยาที่เป็นบุญนั้นเป็นเช่นไร 6-คำสอนของพระพุทธเจ้าปกติสอนอะไรอย่างไร 7- ถ้าเรากำลังเดินอยู่ในเส้นทางนี้แล้ว เราจะทราบได้อย่างไร + ตรวจสอบได้อย่างไร + ถ้าเราเดินผิดทางเดินนี้ออกไปเราจะทราบได้อย่างไร 8- การฟังธรรม มีกี่แบบ อย่างไรบ้าง การสรุปข้อธรรมะนั้นควรทำเช่นไร 9-การย่อและขยายหลักธรรมเพื่อการปฏิบัติทำเช่นไร

เหล่านี้เป็นข้อสนทนาพื้นฐานในแต่ละวัน โดยเมื่อมีเวลาเราก็จะร่วมกัน ถามตอบเพื่อให้การเดินทางนี้เป็นการเดินทางของกัลยณมิตร ที่จะก้าวเดินไปในทางสายนี้ด้วยกันช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เป็นครอบครัวใหญ่ที่มีศีล สมาธิ และปัญญาเป็นองค์ประกอบ ถึงแม้เราจะสนทนากันจนเที่ยงคืนทุกวันและยังภาวนากันจนรุ่งเช้า แต่พวกเราก็อยากหวังว่าสิ่งเหล่านี้คงจะเป็นประโยชน์แก่ทุกๆท่านที่ร่วมกิจกรรมของมูลนิธิฯในครั้งนี้และในครั้งต่อๆไป

งานค้างจากการจาริกบุญ - ซื้อเครื่องกรองน้ำและนำไปติดตั้งให้ สนส.ทรัพย์สวนพลูประมาณ30000บ.-จัดสร้างเสนาสนะกุฎีวิหารให้ วัดภูจ้อมก้อมผประมาณ100000บาท- บูรณะซ่อมแซมอาคารที่วัดภูหล่น - สร้างที่พักผู้ปฏิบัติธรรมที่คเ้างไว้ให้สำเร็จ ประมาณ500000บ.- ดูแลพระภิกษุ และแม่ชีที่อาพาธ ใครสนใจร่วมบุญเชิญติดต่อคุณกาญฯ ท่านเลขามูลนิธิฯนะครับ@Kan Won

ของแถมจากทริปผ้าอาบ2559 - การถวายภัต

1.เรื่องการถวายทานด้วยเครื่องบริโภคที่ถูกต้องตามพระวินัยแด่พระภิกษุสงฆ์ ที่คุณเมืองแก้วได้เขียนไว้ เห็นว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับบางท่านที่อาจจะยังไม่ทราบเรื่องนี้มาก่อน จึงได้พิมพ์มาฝากท่านผู้อ่านเผื่อจะได้ทราบเรื่องอาหารที่เราควรจะนำไปถวายพระภิกษุกัน

อาหารที่ถวายพระนั้นถ้ามีเนื้อสัตว์ ก่อนจะถวายต้องทำให้สุกด้วยไฟเสียก่อน เช่นต้ม ทอด ย่าง ถ้าอาหารนั้นไม่สุกด้วยไฟ เช่นสุกด้วยมะนาวหรือยังดิบอยู่ หรือยังสุกๆ ดิบๆ หากพระฉันเข้าไปจะเป็นอาบัติทุกฎ

อาหารบางอย่างเรามักนึกไม่ถึงว่ายังไม่สุกด้วยไฟ เช่น น้ำพริกปลาทู ก่อนจะนำกะปิมาตำน้ำพริก จะต้องนำมาห่อใบตองปิ้งให้สุกก่อน หรือไข่ดาวและไข่ต้ม จะต้องต้มหรือทอดให้ไข่ขาวและไข่แดงสุกแข็งทั่วกัน หากยังเหลวเป็นยางมะตูมอยู่ถือว่ายังไม่สุก หรือส้มตำใส่ปลาร้าหรือปูก็จะต้องต้มปูเค็มหรือต้มปลาร้าเสียก่อน เป็นต้น

มีเนื้อ ๑๐ ชนิดที่ห้ามพระเณรฉันทุกกรณี ได้แก่ เนื้อมนุษย์ เนื้อสุนัข เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้องู เนื้อราชสีห์ เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือดาว เหนือเสือเหลือง เนื้อหมี นอกจากนั้นฉันได้ทุกชนิดแต่ต้องไม่ประกอบด้วยสามเหตุคือ

- ไม่เห็นว่าเขาฆ่ามาเพื่อตน - ไม่ได้ยินว่าเขาฆ่ามาเพื่อตน - ไม่สงสัยว่าเขาฆ่ามาเพื่อตน

เพราะฉะนั้นชาวพุทธเราเวลาประกอบอาหารถวายพระ ห้ามบอกพระล่วงหน้าว่าจะเอาอาหารชื่อนั้นชื่อนี้มาถวาย เพราะจะทำให้ท่านฉันไม่ได้ หากฉันเข้าไปจะเป็นอาบัติ

อีกประการหนึ่งผักหรือผลไม้ที่จะนำมาถวายพระ หากมีเมล็ดแก่ที่สามารถนำไปปลูกให้งอกได้ อย่างส้ม แตงโม มะเขือสุก หรือมีส่วนอื่นที่นำไปปลูกได้ไม่ว่าจะเป็น ลำต้น ราก หัวก็ดี เช่น ผักบุ้ง ใบโหรพา หัวหอม จะต้องทำวินัยกรรมที่มักเรียกว่า “กัปปิยะ” เสียก่อน พระท่านจึงจะฉันได้ หากไม่ทำกัปปิยะก่อนแล้วพระฉันเข้าไปจะเป็นอาบัติทุกฎ

เรื่องนี้สืบเนื่องมาจากพระวินัยที่ห้ามภิกษุพรากของเขียว คือตัดต้นไม้ เด็ดใบไม้นั่นเอง ซึ่งรวมไปถึงผลไม้หรือลำต้นที่สามารถนำไปปลูกให้งอกได้ด้วย

วิธีการทำกัปปิยะ คือ นำผักหรือผลไม้ที่ต้องทำกัปปิยะมาวางตรงหน้าพระ แล้วพระท่านจะถามว่า “กัปปิยัง กโรหิ” แปลว่า “ทำให้สมควรแล้วหรือ” โยมหรือเณรจะใช้เล็บหรือมีดเด็ดหรือตัดพืชนั้นเพียง ๑ ต้นหรือ ๑ ผล ให้ขาดออกจากกัน พร้อมกับพูดว่า “กัปปิยัง ภันเต” แปลว่า “ทำให้สมควรแล้ว” การทำกัปปิยะกับพืชหรือผลไม้เพียงต้นเดียวหรือลูกเดียว จะมีผลทำให้พระฉันพืชหรือผลนั้นได้ทั้งจานหรือทั้งถาด

วินัยข้อนี้เห็นนิยมทำกันแต่เฉพาะในสายวัดป่าเท่านั้น เพราะหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านสอนลูกศิษย์ลูกหาสืบกันมา ไม่ค่อยได้เห็นวัดในเมืองทำกันสักเท่าใด

สมัยหนึ่งหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล เที่ยวธุดงค์ไปพักที่วัดหนึ่งใน จ.สกลนคร เจ้าอาวาสวัดนั้นซึ่งมีพรรษามากแล้ว เห็นหลวงปู่เสาร์ให้โยมทำกัปปิยะก็ไม่เชื่อถือและกล่าวปรามาสท่าน หลวงปู่เสาร์ท่านก็อธิบายว่า ท่านทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ได้คิดขึ้นเอง ทันใดนั้นหลวงตาเจ้าอาวาสท่านก็ล้มลงชักกับพื้น ด้วยอำนาจกรรมที่กล่าวปรามาสพระธรรมและพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

ฝ่ายพระลูกวัดก็พากันมาเขย่าตัวถามว่าเป็นอะไรไป ท่านจึงรู้สึกตัวขึ้นและกล่าวขอขมาหลวงปู่เสาร์ทันที และแต่นั้นมาท่านก็ทำตามหลวงปู่เสาร์มาจนตลอดชีวิต ครูบาอาจารย์บางรูปท่านสอนลูกศิษย์ว่าหากไปฉันในวัดที่เขาไม่ทำกัปปิยะก่อน ก็ควรเลี่ยงไม่ฉันพืชผลไม้นั้นและไม่ควรไปพูดตำหนิเขาด้วย แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ก็ให้ฉันแต่เนื้อ ระวังอย่าเคี้ยวเมล็ดจนแตก 2. การแตะบาตรหน้าวัดเนื่องจากพระสายวัดป่ากรรมฐาน มักจะเดินตามคำสอนของพ่อแม่ครูจารย์ที่จะถือธุดงควัตร อย่างน้อย6-7ข้อ ระหว่างพรรษาเพื่อเพิ่มความเพียรให้ตนในการต่อสู้กิเลสในใจการแตะบาตรถือเสมือนการใส่ของนั้นถวายในบาตรแล้วก่อนเข้าวัด พระภิกษุจึงรับภัต นั้นๆได้ไม่ตกขอธุดงค์ ในหมวด ภัต. หรือหมวดบิณฑบาต-นี้(หลายๆท่านยังไม่เข้าใจปฏิบัติไปอย่างเถรส่องบาตร ก็มี เห็นได้ในบางวัด..)หมวดที่ ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับบิณฑบาต )3.) การถือบิณฑบาตเป็นวัตร คือการบริโภคอาหารเฉพาะที่ได้มาจากการรับบิณฑบาตเท่านั้น ไม่บริโภคอาหารที่คนเขานิมนต์ไปฉันตามบ้าน4.) ถือการบิณฑบาตตามลำดับบ้านเป็นวัตร คือจะรับบิณฑบาตโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่เลือกว่าเป็นบ้านคนรวยคนจน ไม่เลือกว่าอาหารดีไม่ดี มีใครใส่บาตรก็รับไปตามลำดับ ไม่ข้ามบ้านที่ไม่ถูกใจไป5.) ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร คือ ในแต่ละวันจะบริโภคอาหารเพียงครั้งเดียว เมื่อนั่งแล้วก็ฉันจนเสร็จ หลังจากนั้นก็จะไม่บริโภคอาหารอะไรอีกเลย นอกจากน้ำดื่ม6.) ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร คือจะนำอาหารทุกชนิดที่จะบริโภคในมื้อนั้น มารวมกันในบาตร แล้วจึงฉันอาหารนั้น เพื่อไม่ให้ติดในรสชาดของอาหาร7.) ถือการห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร คือเมื่อรับอาหารมามากพอแล้ว ตัดสินใจว่าจะไม่รับอะไรเพิ่มอีกแล้ว หลังจากนั้นถึงแม้มีใครนำอะไรมาถวายเพิ่มอีก ก็จะไม่รับอะไรเพิ่มอีกเลย ถึงแม้อาหารนั้นจะถูกใจเพียงใดก็ตามองค์ธุดงค์ทั้ง13ข้อจากท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)ธุดงค์ 13 (องค์คุณเครื่องสลัดหรือกำจัดกิเลส, ข้อปฏิบัติประเภทวัตรที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เพื่อเป็นอุบายขัดเกลากิเลส ช่วยส่งเสริมความมักน้อยและสันโดษเป็นต้น — means of shaking off or removing defilements; austere practices; ascetic practices)หมวดที่ 1 จีวรปฏิสังยุต (เกี่ยวกับจีวร — connected with robes)1. ปังสุกูลิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คำสมาทานโดยอธิษฐานใจหรือเปล่งวาจาว่า “คหปติจีวรํ ปฏิกฺขิปามิ, ปํสุกูลิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “เรางดคฤหบดีจีวร สมาทานองค์แห่งผู้—” — refuse-rag-wearer’s practice)2. เตจีวริกังคะ (องค์แห่งผู้ถือทรงเพียงไตรจีวรเป็นวัตร คำสมาทานว่า “จตุตฺถจีวรํ ปฏิกฺขิปามิ, เตจีวริกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดจีวรผืนที่ 4 สมาทานองค์แห่งผู้—” — triple-robe-wearer’s practice)หมวดที่ 2 ปิณฑปาตปฏิสังยุต (เกี่ยวกับบิณฑบาต — connected with almsfood)3. ปิณฑปาติกังคะ (องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คำสมาทานว่า “อติเรกลาภํ ปฏิกฺขิปามิ, ปิณฺฑปาติกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดอติเรกลาภ สมาทานองค์แห่งผู้—” — alms-food-eater’s practice)4. สปทานจาริกังคะ (องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับเป็นวัตร คำสมาทานว่า “โลลุปฺปจารํ ปฏิกฺขิปามิ, สปทานจาริกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดการเที่ยวตามใจอยาก สมาทานองค์แห่งผู้—” — house-to-house-seeker’s practice)5. เอกาสนิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร คือฉันวันละมื้อเดียว ลุกจากที่แล้วไม่ฉันอีก คำสมาทานว่า “นานาสนโภชนํ ปฏิกฺขิปามิ, เอกาสนิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดเว้นการฉัน ณ ต่างอาสนะ สมาทานองค์แห่งผู้—” — one-sessioner’s practice)6. ปัตตปิณฑิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร คือ ไม่ใช้ภาชนะใส่อาหารเกิน 1 อย่างคือบาตร คำสมาทานว่า “ทุติยภาชนํ ปฏิกฺขิปามิ, ปตฺตปิณฺฑิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดภาชนะที่สอง สมาทานองค์แห่งผู้—” — bowl-food-eater’s practice)7. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ (องค์แห่งผู้ถือห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร คือเมื่อได้ปลงใจกำหนดอาหารที่เป็นส่วนของตน ซึ่งเรียกว่าห้ามภัต ด้วยการลงมือฉัน เป็นต้นแล้ว ไม่รับอาหารที่เขานำมาถวายอีก แม้จะเป็นของประณีต คำสมาทานว่า “อติริตฺตโภชนํ ปฏิกฺขิปามิ, ขลุปจฺฉาภตฺติกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดโภชนะอันเหลือเฟือ สมาทานองค์แห่งผู้—” — later-food-refuser’s practice)หมวดที่ 3 เสนาสนปฏิสังยุต (เกี่ยวกับเสนาสนะ — connected with the resting place)8. อารัญญิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ห่างบ้านคนอย่างน้อย 500 ชั่วธนู คือ 25 เส้น คำสมาทานว่า “คามนฺตเสนาสนํ ปฏิกฺขิปามิ, อารญฺญิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดเสนาสนะชายบ้าน สมาทานองค์แห่งผู้—” — forest-dweller’s practice)9. รุกขมูลิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร คำสมาทานว่า “ฉนฺนํ ปฏิกฺขิปามิ, รุกฺขมูลิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดที่มุงบัง สมาทานองค์แห่งผู้—” — tree-root-dweller’s practice)10. อัพโภกาลิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ที่แจ้งเป็นวัตร คำสมาทานว่า “ฉนฺนญฺจ รุกฺขมูลญฺจ ปฏิกฺขิปามิ, อพฺโภกาสิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดที่มุงบังและโคนไม้ สมาทานองค์แห่งผู้—” — open-air-dweller’s practice)11. โสสานิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร คำสมาทานว่า “อสุสานํ ปฏิกฺขิปามิ, โสสานิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดที่มิใช่ป่าช้า สมาทานองค์แห่งผู้—” — charnel-ground-dweller’s practice)12. ยถาสันถติกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ในเสนาสนะแล้วแต่เขาจัดให้ คำสมาทานว่า “เสนาสนโลลุปฺปํ ปฏิกฺขิปามิ, ยถาสนฺถติกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดความอยากเอาแต่ใจในเสนาสนะ สมาทานองค์แห่งผู้—” — any-bed-user’s practice)หมวดที่ 4 วิริยปฏิสังยุต (เกี่ยวกับความเพียร — connected with energy)13. เนสัชชิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือการนั่งเป็นวัตร คือเว้นนอน อยู่ด้วยเพียง 3 อิริยาบถ คำสมาทานว่า “เสยฺยํ ปฏิกฺขิปามิ, เนสชฺชิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้างดการนอน สมาทานองค์แห่งผู้—” — sitter’s practice)ข้อควรทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับธุดงค์ 13ก. โดยย่อธุดงค์มี 8 ข้อ เท่านั้น คือ1) องค์หลัก 3 (สีสังคะ — principal practices) คือ สปทานจาริกังคะ (เท่ากับได้รักษาปิณฑปาติกังคะด้วย) เอกาสนิกังคะ (เท่ากับได้รักษาปัตตปิณฑิกังคะ และขลุปัจฉาภัตติกังคะด้วย) และอัพโภกาสิกังคะ (ทำให้รุกขมูลิกังคะ กับ ยถาสันติกังคะ หมดความจำเป็น)2) องค์เดี่ยวไม่คาบเกี่ยวข้ออื่น 5 (อสัมภินนังคะ — individual practices) คือ อารัญญิกังคะ ปังสุกุลิกังคะ เตจีวริกังคะ เนสัชชิกังคะ และโสสานิกังคะข. โดยนิสสัยคือที่อาศัย (dependence) มี 2 คือ ปัจจัยนิสิต 12 (อาศัยปัจจัย — dependent on requisites) กับ วิริยนิสิต 1 (อาศัยความเพียร — dependent on energy)ค. โดยบุคคลผู้ถือ1) ภิกษุ ถือได้ทั้ง 13 ข้อ2) ภิกษุณี ถือได้ 8 ข้อ (คือ ข้อ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 12, 13)3) สามเณร ถือได้ 12 ข้อ (คือ เว้นข้อ 2 เตจีวรกังคะ)4) สิกขมานาและสามเณรี ถือได้ 7 ข้อ (คือ ลดข้อ 2 ออกจากที่ภิกษุณีถือได้)5) อุบาสกอุบาสิกา ถือได้ 2 ข้อ (คือ ข้อ 5 และ 6)ง. โดยระดับการถือ แต่ละข้อถือได้ 3 ระดับ คือ1) อย่างอุกฤษฏ์ หรืออย่างเคร่ง เช่น ผู้ถืออยู่ป่า ต้องให้ได้อรุณในป่าตลอดไป2) อย่างมัธยม หรืออย่างกลาง เช่น ผู้ถืออยู่ป่า อยู่ในเสนาสนะชายบ้านตลอดฤดูฝน 4 เดือน ที่เหลืออยู่ป่า3) อย่างอ่อน หรืออย่างเพลา เช่น ผู้ถืออยู่ป่า อยู่ในเสนาสนะชายบ้านตลอดฤดูฝนและหนาวรวม 8 เดือนจ. ข้อ 9 และ 10 คือ รุกขมูลิกังคะ และอัพโภกาสิกังคะ ถือได้เฉพาะนอกพรรษา เพราะวินัยกำหนดให้ต้องถือเสนาสนะในพรรษาฉ. ธุดงค์ไม่ใช่บทบัญญัติทางวินัย ขึ้นกับความสมัครใจ มีหลักทั่วไปในการถือว่า ถ้าถือแล้วช่วยให้กรรมฐานเจริญ หรือช่วยให้กุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อม ควรถือ ถ้าถือแล้วทำให้กรรมฐานเสื่อม หรือทำให้กุศลธรรมเสื่อม อกุศลธรรมเจริญ ไม่ควรถือ ส่วนผู้ที่ถือหรือไม่ถือ ก็ไม่ทำให้กรรมฐานเจริญหรือเสื่อม เช่น เป็นพระอรหันต์แล้วอย่างพระมหากัสสปะ เป็นต้น หรือคนอื่นๆ ก็ตาม ควรถือได้ ฝ่ายแรกควรถือในเมื่อคิดจะอนุเคราะห์ชุมชนในภายหลัง ฝ่ายหลังเพื่อเป็นวาสนาต่อไปช. ธุดงค์ที่มาในบาลีเดิม ไม่พบครบจำนวนในที่เดียว (ที่พบจำนวนมาก คือ ม.อุ. 14/186/138; M.III.40 มีข้อ 1-3-5-8-9-10-11-12-13; องฺ.ทสก. 24/181/245; A.V.219 มีข้อ 1-5-6-7-8-9-10-11-12-13; ขุ.ม. 29/918/584; Ndi188 มีข้อ 1-2-3-4-7-8-12-13) นอกจากคัมภีร์บริวาร (วินย. 8/982/330; 1192/475; Vin.V.131,198) ซึ่งมีหัวข้อครบถ้วน ส่วนคำอธิบายทั้งหมดพึงดูในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

#มลนธดวงแกว #วชรธรรมสถาน #DuangKaewfoundation #ปโยรส #ดวงแกว

Featured Posts
กรุณากลับมาใหม่ภายหลัง
หลังจากที่โพสต์เผยแพร่แล้ว คุณจะเห็นข้อมูลที่นี่
Recent Posts
Archive
Search By Tags
ยังไม่มีแท็ก
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page